วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน 
เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234


ความรู้ที่ได้รับ
         โรคสมาธิสั้น หรือ โรคเอดีเอชดี (Attention deficit-hyperactivity disorder หรือ ADHD)




พ่อแม่ ผู้ปกครองจะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาลูกที่สมาธิสั้นได้อย่างไร
            สร้างทัศนคติที่ดี พ่อแม่ควรมีทัศนคติที่ดีและใจเย็นกับพฤติกรรมของลูก สามารถมองข้ามความผิดเล็กๆ น้อยๆ และเชื่อมั่นว่าลูกสามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้ ทั้งนี้พ่อแม่ต้องรู้จักผ่อนคลายและดูแลตนเองด้วย
            จัดระเบียบกิจกรรมให้เป็นระบบ เด็กโรคสมาธิสั้นจะสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้หากมีการจัดตารางกิจกรรมและสถานที่ที่ชัดเจน พ่อแม่ควรจัดทุกอย่างให้เป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการวางสิ่งของ การจัดตารางเวลา เป็นต้น ทั้งนี้ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก
            ตั้งกฎระเบียบที่ชัดเจน พ่อแม่ควรตั้งกฎระเบียบที่ชัดเจนให้เด็กเข้าใจและปฏิบัติตาม โดยมีการให้รางวัลเมื่อทำดี และลงโทษเมื่อทำผิด ทั้งนี้พ่อแม่ต้องตระหนักว่าการให้คำชมและรางวัลถือเป็นการให้กำลังใจที่ดีสำหรับเด็ก
            ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ พ่อแม่ควรให้ลูกออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี อีกทั้งเป็นการฝึกสมาธิและลดความเครียดอีกด้วย การนอนหลับให้เพียงพอก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้เด็กมีสมาธิและมีสุขภาพที่ดี
            รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พ่อแม่ควรเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกรับประทาน โดยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการจะเสริมสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อีกทั้งสามารถลดอาการของโรคสมาธิสั้นได้อีกด้วย
            เรียนรู้การเข้าสังคม แม้จะเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กโรคสมาธิสั้นที่จะเรียนรู้การเข้าสังคม แต่พ่อแม่สามารถฝึกให้ลูกเป็นผู้ฟังที่ดี รู้จักอ่านสีหน้าและท่าทางของผู้อื่น รู้จักโต้ตอบและพูดคุยกับผู้อื่น เพื่อปูทางในการปรับตัวเข้าสังคมในลำดับต่อไป

อาจารย์ได้นำวิดีโอตัวอย่างของศูนย์ EI มาให้ดู


การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้กับเด็กที่มีสามาธิสั้นได้อย่างถูกวิธีและสามารถให้การช่วยเหลือ และคำแนะนำ เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง       ตั้งใจฟัง จดสรุปที่อาจารย์สอน ช่วยออกความคิดเห็นในงานกลุ่ม
เพื่อน         แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ตั้งใจฟัง
อาจารย์     ตั้งใจสอนเป็นอย่างดี มีการอธิบายเพิ่มเติมจากเนื้อหาในชีส ทำให้เข้าใจมากขึ้น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน 
เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีกิจกรรมของทางสาขา

"กิจกรรม  ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย"










ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรม
ตนเอง      ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  ช่วยเตรียมงาน และช่วยเพื่อนเแต่งตัว
เพื่อน       ให้ความร่วมมือเต็มที่ แสดงออกมาได้สวยงาม
อาจารย์   ให้คำแนะนำ และคอยช่วยเหลืออยูตลอด

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน 
เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234


ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้เรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับตัวพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

Down syndrome  แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ 
           จุดมุ่งหมายของการดูแลกลุ่มอาการดาวน์ เพื่อรักษาตามอาการหรือแก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย เพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด การดูแลรักษาเน้นการดูแลแบบองค์รวม (holistic approach) โดยทีมสหวิชาชีพ
1. ด้านสุขภาพอนามัย
           เนื่องจากอาจมีความผิดปกติหลายอย่างที่พบร่วมด้วยได้ในกลุ่มอาการดาวน์ รวมทั้งมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายและบ่อยกว่าเด็กทั่วไป จึงควรแนะนำบิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ เพื่อแพทย์จะได้ค้นหาและให้การรักษาได้ทันที รวมทั้งให้คำแนะนำต่างๆ เช่น การให้คำแนะนำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ การวางแผนครอบครัว ความเสี่ยงในการเกิดซ้ำของโรคในครอบครัวและการวินิจฉัยก่อนคลอด
2. การส่งเสริมพัฒนาการ
           เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม จึงควรแนะนำบิดามารดาเรื่องความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ วิธีการฝึกฝนบุตรที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้มีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป
3. การดำรงชีวิตประจำวัน
           เด็กกลุ่มอาการดาวน์ควรจะได้รับประสบการณ์ชีวิตเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป จึงควรฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถไปเรียนและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ รู้จักควบคุมตนเอง มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมและสามารถใช้บริการต่างๆ ในสังคมได้
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้แก่
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Skills) การจดทะเบียนรับรองความพิการ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ

สรุปเป็น Mild Map



การนำไปประยุกต์ใช้ 
           เพื่อให้คำแนะนำกับผู้ปกครองถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วช่วยกันคิดหาทางออกที่ดี เพื่อการพัฒนาของเด็ก
ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง       ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย เข้าใจในสิ่งที่ อาจารย์สอน
เพื่อน         แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน มีการโต้ตอบกับอาจารย์
อาจารย์   เตรียมเนื้อหามาสอน สอนเข้าใจ อธิบายได้เข้าใจง่าย

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234



อาจารย์บอกคะนนสอบปลายภาคพร้อมกับเฉลย และทบทวนให้กับข้อที่ผิด




ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง        ค่อนข้างพอใจคะแนนสอบที่ได้   แก้ไขและปรับปรุงข้อที่ผิด
เพื่อน        ตั้งใจฟังคะแนนสอบ  ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายข้อที่ผิดพลาด
อาจารย์     ชื่ชมคนที่ได้คะแนนดี และให้กำลังใจคนที่ได้คะแนนน้อย พร้อมบอกข้อควรแก้ไข
บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557 วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234


สอบกลางภาค


วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน 
เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234

สรุปได้ดังนี้





เนื้อหาเพิ่มเติม
         เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) หมายถึง เด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ต่อต้านตนเองหรือผู้อื่น) หรือมีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ (แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ) ออกมาอย่างเนื่องจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กไม่ว่าจะเพียงลักษณะเดียว หรือหลายลักษณะร่วมกันก็ได้

ประเมินการเรียนการสอน
       ตนเอง        ตั้งใจเรียนดี เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอนได้ดี
       เพื่อน         เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีส่วนร่วมในการเรียนนำชีทมาประกอบการเรียน
       อาจารย์      เตรียมเนื้อหามาสอน สอนเข้าใจ อธิบายได้เข้าใจง่าย
บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557 วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234

สรุปได้ดังนี้


เนื้อหาเพิ่มเติม
           ปัญหาความบกพร่องด้านการเรียนรู้ (Learning Disabilities) ใช้อธิบายลักษณะพิเศษของเด็กที่มีปัญหาในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทางวิชาการ ภาษา และการเขียน เป็นผลมาจากระบบการทำงานที่ผิดปกติของสมองในขั้นตอนการรับรู้และสื่อสารข้อมูล ทำให้มีปัญหาเรียนยาก หรือเรียนช้ากว่าเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ในลักษณะนี้ จัดเป็น 1 ใน 9 กลุ่มเด็กที่ต้องรับการดูแลพิเศษ แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กไม่ฉลาดหรือขี้เกียจ เพียงแต่มีระบบความคิด การจัดเก็บและสื่อสารข้อมูลแตกต่างจากคนอื่น และที่จริงแล้วเด็กกลุ่มนี้จะมีระดับไอคิวเท่ากับเด็กทั่วไป หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ เราสามารถแบ่งลักษณะอาการเป็น 2 ประเภท คือ ปัญหาทางภาษา และปัญหาทางภาพสัญลักษณ์

การนำไปประยุกต์ใช้
           เพื่อให้คำแนะนำกับผู้ปกครองถึงปัญหาที่เกิดขึ้น  แล้วช่วยกันคิดหาทางออกที่ดี เพื่อการพัฒนาของเด็ก

ประเมินการเรียนการสอน
      ตนเอง      ตั้งใจเรียนดี แต่ยังมีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่เข้าใจ
      เพื่อน        เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีส่วนร่วมในการเรียน
      อาจารย์    เตรียมเนื้อหามาสอน สอนเข้าใจ อธิบายได้เข้าใจง่าย

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557 วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234

สัปดาห์สอบกลางภาค

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน 
 เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234




เข้าฟังสัมนาในหัวข้อ "จิตอาสาตามรอยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง" วิทยากร โดย ปอ ทฤษฎี สหวงษ์




วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234


สรุปได้ดังนี้



เนื้อหาเพิ่มเติม
           ความบกพร่องทางร่างกาย (Physical impairments) โดยทั่วไปแล้วครอบคลุมลักษณะของความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว (Motor functioning impairments) ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ตัวอย่างของความบกพร่องทางร่างกาย ได้แก่ โรคสมองพิการ (Cerebral palsy) โรคลมชัก (Epilepsy) และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก (Juvenile rheumatoid arthritis) เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายอาจมีหรือไม่มีความจำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ (Special education) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา
           เมื่อบุคคลไม่สามารถเปล่งเสียงพูดได้อย่างถูกต้อง ไม่สามารถพูดได้อย่างราบรื่น หรือมีปัญหาเกี่ยวกับเสียงของตนเอง ถือว่าบุคคลนั้นมีความบกพร่องทางการพูด (Speech Impairment) ซึ่งครอบคลุมลักษณะตั้งแต่ปัญหาความยากลำบากในการออกเสียง หรือความผิดปกติในการออกเสียง (Articulation Disorders) รวมถึงการพูดติดต่าง (Stuttering) ในขณะเดียวกัน เมื่อบุคคลมีปัญหาในการรับรู้และเข้าใจภาษา (Receptive language) หรือมีทักษะในการใช้ภาษาบกพร่อง (Expressive language) ถือว่าบุคคลนั้นมีความบกพร่องทางภาษา (Language Impairment)


การนำไปประยุกต์ใช้
           เพื่อเป็นการพัฒนาสื่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้น 


ประเมินการเรียนการสอน

ตนเอง       มีการโต้ตอบกับอาจารย์ ตั้งใจฟัง ปรึกษาเพื่อนบ้างเล็กน้อย
เพื่อน         มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ให้คำปรึกษา
อาจารย์     สอนเข้าใจง่ายและ มีการยกตัวอย่างในการสอน มีสไลด์ให้ดูไม่น่าเบื่อ

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234


สรุปเนื้อหาที่เรียนวันนี้
        การแบ่งกลุ่มประเภทของเด็กพิเศษ



การนำไปประยุกต์ใช้
           ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  สามารถนำไปพัฒนาแผนการสอนให้เหมาะสมกับตัวของเด็ก ๆ


ประเมินการเรียนการสอน

ตนเอง        มีปรึกษาเพื่อนบ้าง และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
เพื่อน          มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
อาจารย์      สอนเข้าใจง่ายและ มีการยกตัวอย่างในการสอน

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234


วันนี้มีการนำเสนอหน้าชั้นเรียนในแต่ละหัวข้อ ซึ่งมีหัวข้อดังนี้
เด็กซีพีCerebral Palsy 
เด็กแอลดีID : learning disability 
เด็กดาวน์ซินโดรมDownsyndrome 
เด็กสมาธิสั้นAttention Deficit Hyperactivity Disorder ADHD 
เด็กปัญญาเลิศGifted child 
เด็กออทิสติกAutistic 
เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ Children With Behavioral and Emotional Disorders 

สรุปได้ดังนี้




เนื้อหาเพิ่มเติม
       เด็กซีพีCerebral Palsy 
       เด็กแอลดีID : learning disability 
       เด็กดาวน์ซินโดรมDownsyndrome 
       เด็กสมาธิสั้นAttention Deficit Hyperactivity Disorder ADHD 
       เด็กปัญญาเลิศGifted child 
       เด็กออทิสติกAutistic 
       เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ Children With Behavioral and Emotional Disorders 

การนำไปประยุกต์ใช้
       เพื่อพัฒนาแผนการสอนให้เข้ากับเด็กแต่ละประเภทเพื่อการพัฒนาไปในทางที่ดีของเด็กแต่ละคน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กให้ดีขึ้น


ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย สนใจและตั้งใจกับการเรียนการสอน
เพื่อน     เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน เพื่อนมีการแสดงคิดเห็นตอบสนองกับการเรียน
อาจารย์  อาจารย์ใช้สอนโดยการบรรยาย พร้อมกับเล่นบทบาทสมมติ การเล่าประสบการณ์ต่างๆ มีการ                    ใช้วิดีโอประกอบการสอน และมีการใช้น้ำเสียงที่น่าสนใจ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234


(วันนี้อาจารย์ให้เข้าร่วมกิจกรรมงานวิชาการของคณะศึกศาสตร์)(จึงไม่ได้มีเนื้อหาสรุปคะ)




การประเมิน
ตนเอง    แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย เข้าร่วมกิจกรรมของสาขานำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
เพื่อน      แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าร่วมกิจกรรมของสาขา ให้ความร่วมมือกับคณะ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557
 วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234

ความรู้ที่ได้รับ
         เรื่องเด็กพิเศษ

เนื้อหาเพิ่มเติม
           เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with Special Needs) หมายถึง ผู้ที่มีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเนื่องด้วยการขาดความสามารถ (Disability) ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญา ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ความต้อง การพิเศษ (Special Needs) เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ในการวินิจฉัยอาการทางคลินิก (Clinical diagnostic) และพัฒนาการทาง ด้านสมรรถภาพของร่ายกาย (Functional development) นอกจากนี้ ในประเทศอังกฤษ ความต้องการพิเศษมักเชื่อมโยงกับแวดวงการศึกษา โดยหมายถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางด้านการศึกษา (Special Educational Needs:SEN)


การนำไปประยุกต์ใช้
  1. เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
  2. เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการดูแล
  3. เพื่อนนำไปเป็นข้อมูลในการศึกษา
การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง       มีปรึกษาเพื่อนบ้าง คุยกันนอกเรื่องบ้าง และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
เพื่อน        คุยกันเสียงดังนิดหน่อย และ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
อาจารย์    สอนเข้าใจง่ายและ มีการยกตัวอย่างในการสอน

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557 
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ อ.ตฤณ แจ่มถิน
เวลาเรียน 12:20- 15:00 น. ห้อง234



           วันนี้เป็นการเรียนครั้งแรก อาจารย์ ให้ทำมายแม็บเกี่ยวกับเด็กพิเศษ สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเด็กพิเศษ โดยให้ทำเป็นกลุ่มค่ะ


อันนี้ของกลุ่มดิฉันคะ 








ความรู้ที่ได้รับ
         อาจารย์แจก (Course Syllabus) ให้กับนิสิต และอธิบายแนวทางการสอนของเทอมนี้ว่ามีเรียนอะไรบ้าง และพูดข้อตกลงในชั้นเรียน และการบันทึกอนุทินเป็น mind mapping โดยใช้โปรแกรม


เนื้อหาเพิ่มเติม
         เด็กพิเศษ มาจากคำเต็มว่า “เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” หมายถึงเด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง โดยออกแบบการดูแล ช่วยเหลือเด็ก ตามลักษณะความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละคน

การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำไปเพิ่มพูนความรู้ เพื่อใช้ในการปรับตัวให้เข้ากับการสอนในโอกาศต่างๆ

การประเมินการเรียนการสอน
ตัวเอง        ตั้งใจเรียนดี  แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
เพื่อน         มีการให้ความร่วมกันภายในกลุ่มที่ดี ตั้งใจเรียน
อาจารย์     เตรียมเนื้อหามาสอนได้น่าสนใจ  แต่งกายเรียบร้อย